นิวเคลียร์ฟิวชัน ครั้งแรกของอเมริกา แต่อาจไม่ใช่ครั้งแรกของโลก
นิวเคลียร์ฟิวชัน ครั้งแรกของอเมริกา แต่อาจไม่ใช่ครั้งแรกของโลก
ฤา.. จะเหมือนครั้งหนึ่งที่ต้องรีบไปเหยียบดวงจันทร์..ก่อนรัสเซีย เพื่อชิงความเป็นมหาอำนาจทางด้านเทคโนโลยี และชิงพื้นที่ข่าว
เดี๋ยวนี้ ครั้งแรกของอเมริกา อาจจะไม่ใช่ครั้งแรกของโลก จีนได้เพิ่งทดสอบเครื่องปฏิกรณ์ฟิวชันนี้สำเร็จเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยสร้าง “พระอาทิตย์เทียม” ได้ยาวนานกว่า 17 นาที ซึ่งหากเทียบกับเตาปฏิกรณ์ของอเมริกาแล้ว สร้างได้เพียงชั่วเสี้ยววินาที
โครงการ “ดวงอาทิตย์เทียม” ของจีนนี้ สร้างปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันได้นานกว่า 17 นาที พลาสมามีความร้อนสูงถึง 126 ล้านองศาฟาเรนไฮต์ ซึ่งร้อนกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ 5 เท่า ซึ่งแผ่รังสีความร้อนได้ถึง 10,000 องศาฟาเรนไฮต์ที่พื้นผิวและประมาณ 27 ล้านองศาฟาเรนไฮต์ที่แกนกลาง
ด้วยเทคโนโลยีที่แตกต่างจากอเมริกา ในแกนกลางของ “พระอาทิตย์เทียม” ซึ่งมีความดันและอุณหภูมิสูงรุนแรง จะหลอมรวมนิวเคลียสของ อะตอมของไฮโดรเจน 4 อะตอม รวมกันเป็นอะตอมของฮีเลียม 1 อะตอม
อนึ่ง จีนไม่ได้มีเตาปฏิกรณ์ EAST แค่เครื่องเดียว แต่ยังมี 2 เครื่อง ได้แก่ HL-2A(M) ที่ Southwestern Institute of Physics (SWIP) เมืองเฉิงตู และ J-TEXT ที่ Huazhong University of Science and Technology ในเมืองหวู่ฮั่น
นอกจากที่จีนแล้ว เตาปฏิกรณ์ฟิวชันที่ใหญ่กว่าเครื่อง EAST ของจีน กำลังก่อสร้างในฝรั่งเศสที่สถาบัน International Thermonuclear Experimental Reactor (ITER) จะเป็นเครื่องที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยความร่วมมือระหว่าง 35 ประเทศ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร จีน อินเดีย และทุกรัฐในสหภาพยุโรป มีส่วนร่วมในโครงการนี้ รายงานจาก Live Science เครื่องปฏิกรณ์ที่คาดว่าจะเริ่มทำงานในปี 2568 ยังมีสนามแม่เหล็กที่ทรงพลังที่สุดในโลก ซึ่งแรงกว่าของโลกถึง 280,000 เท่า
ครั้งแรกของอเมริกา เดี่ยวนี้..อาจจะไม่ใช่ครั้งแรกของโลก แต่ต้องโหมกระพือข่าว เพื่อชิงความได้เปรียบและแสดงความเป็นมหาอำนาจทางเทคโนโลยี ?!
หมายเหตุ — บทความนี้อ้างอิงและเรียบเรียงมาจาก SmithSonian https://www.smithsonianmag.com/smart-news/chinas-artificial-sun-reactor-broke-record-for-nuclear-fusion-180979336/
และ Live Science https://www.livescience.com/chinas-1-trillion-artificial-sun-fusion-reactor-just-got-five-times-hotter-than-the-sun
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น